โรคนิ่ว มีอยู่ด้วยกันสองชนิดคือ นิ่วในถุงน้ำดี และนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ ปัจจุบันโรคนิ่วเป็นปัญหาสาธารณสุขที่พบมากทั่วโลก อาการจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับขนาดและตำแหน่ง บางคนมีอาการเจ็บ บางคนไม่มีอาการแสดงเลย นิ่วเกิดจากอะไร เป็นแล้วสามารถรักษาแบบไหนให้หายได้ มาหาคำตอบไปพร้อมกันบบทความนี้

โรคนิ่ว คืออะไร

ปัจจุบันโรคนิ่วเป็นปัญหาสาธารณสุขที่พบมากทั่วโลก และอุบัติการณ์โรคนิ่วไตมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในประเทศไทยมีอุบัติการณ์โรคนิ่วไตสูงมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การมีนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะจะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ได้ เช่น การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ การทำงานของไตเสื่อมลง และอาจร้ายแรงจนถึงเกิดภาวะไตวายเรื้อรังและโรคไตระยะสุดท้าย ซึ่งทำให้เสียชีวิตได้

โรคนิ่ว มีอยู่ด้วยกันสองชนิดคือ นิ่วในถุงน้ำดี และนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งนิ่วทั้งสองประเภทนี้มีความแตกต่างกันทั้งในส่วนประกอบ สาเหตุ รวมทั้งการดูแลรักษา แต่ที่เรียกว่านิ่วเหมือนกัน อันนี้คงเป็นเพราะว่า ลักษณะที่เห็นนั้น เป็นก้อนคล้ายหินเหมือนกัน เวลาพูดถึงโรคนิ่ว จึงต้องรู้ว่าเป็นนิ่วที่ไหน โรคนิ่วเป็นโรคที่มีบันทึกมาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ ได้มีรายงานพบนิ่วในกระเพาะปัสสาวะในโครงกระดูกศพมัมมี่ของประเทศอียิปต์

โรคนิ่วในถุงน้ำดี

โรคนิ่วในถุงน้ำดีเป็นโรคในระบบทางเดินอาหารที่สามารถเกิดขึ้นได้และมีอันตรายร้ายแรงถึงชีวิตหากไม่รีบรักษา ส่วนใหญ่มักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยพบได้ตั้งแต่อายุ 30 – 50 ปี ความน่าสนใจของโรคนี้คือ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าเป็นโรคกระเพาะอาหารจึงหายามารับประทานเอง จนกระทั่งอาการรุนแรงจึงมารับการรักษา เพราะฉะนั้นการรู้ทันโรคนิ่วในถุงน้ำดีจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลย

ถุงน้ำดี (Gallbladder) คือ อวัยวะบริเวณช่องท้องที่ทำหน้าที่ในการกักเก็บน้ำดี ทำให้น้ำดีเข้มข้นเพื่อพร้อมสำหรับย่อยไขมัน

นิ่วในถุงน้ำดี (Gall Stone) เป็นโรคในระบบทางเดินน้ำดีที่พบได้บ่อยที่สุด เกิดจากการตกตะกอนของหินปูนหรือคอเลสเตอรอลในน้ำดี ทำให้เกิดนิ่ว โดยลักษณะนิ่วมี 3 ประเภท ได้แก่

  1. นิ่วจากคอเลสเตอรอล (Cholesterol Stones) อาจเป็นสีเหลือง ขาว เขียวเกิดจากการตกตะกอนไขมัน เนื่องจากคอเลสเตอรอลเพิ่มมากขึ้นในถุงน้ำดี
  2. นิ่วจากเม็ดสี (Pigment Stones) อาจเป็นสีคล้ำดำ เกิดจากความผิดปกติของเลือด โลหิตจาง ตับแข็ง
  3. นิ่วโคลน (Mixed Gallstones) เป็นคล้ายโคลน เหนียว หนืด เกิดจากการติดเชื้อใกล้ตับ ท่อน้ำดี ตับอ่อน

อาการบอกโรคนิ่วในถุงน้ำดี

นิ่วในถุงน้ำดีอาจไม่แสดงอาการใด ๆ หรือมีบางอาการ แต่ไม่ครบทุกอาการดังต่อไปนี้

  • ท้องอืด
  • แน่นท้อง อาหารไม่ย่อยหลังทานอาหารไขมันสูง เป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง
  • ปวดใต้ลิ้นปี่ / ชายโครงด้านขวา
  • ปวดร้าวที่ไหล่ / หลังขวา
  • คลื่นไส้อาเจียน (ถุงน้ำดีติดเชื้อ)
  • มีไข้หนาวสั่น
  • ดีซ่าน / ตัว – ตาเหลือง  (เมื่อก้อนนิ่วอุดในท่อน้ำดี)
  • ปัสสาวะสีเข้ม  (เมื่อก้อนนิ่วอุดในท่อน้ำดี)
  • อุจจาระสีขาว (เมื่อก้อนนิ่วอุดในท่อน้ำดี)

ทั้งนี้ก้อนนิ่วที่ตกตะกอนอาจมีขนาดเล็กเท่าเม็ดทรายหรือใหญ่เท่าลูกกอล์ฟ จำนวนมีได้ตั้งแต่หนึ่งก้อนไปจนถึงหลายร้อยก้อนได้ หากมีขนาดใหญ่อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดมะเร็งถุงน้ำดีได้

กลุ่มเสี่ยงโรคนิ่วในถุงน้ำดี

  • เพศหญิง 40 ปีขึ้นไป
  • ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป
  • ภาวะอ้วน น้ำหนักมาก
  • คอเลสเตอรอลสูง
  • โรคเบาหวาน
  • โรคเลือด โลหิตจาง ธาลัสซีเมีย
  • ตั้งครรภ์หลายครั้ง
  • กินยาคุมกำเนิด
  • ทานฮอร์โมนจากภาวะหมดประจำเดือน
  • ผู้ที่อดอาหาร (ถือศีลอด) หรือลดน้ำหนักตัวอย่างรวดเร็ว
  • ทานยาลดไขมันในเลือดบางชนิด
  • พันธุกรรม มีประวัติคนในครอบครัว

วิธีการรักษาโรคนิ่วในถุงน้ำดี

การรักษาผู้ป่วยที่มีอาการจากนิ่วในถุงน้ำดี หากสามารถทำการผ่าตัดได้ แนะนำให้ผ่าตัดเพื่อเอาถุงน้ำดีออกทุกราย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ซึ่งมีทั้งการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้องที่มักใช้รักษาผู้ป่วยในกรณีที่มีการอักเสบมากและแตกทะลุในช่องท้องจำเป็นต้องพักฟื้นค่อนข้างนาน และการผ่าตัดผ่านกล้อง (Laparoscopic Surgery) ที่แพทย์จะเจาะรูขนาดเล็กบริเวณหน้าท้องด้วยเครื่องมือเฉพาะ จากนั้นใส่กล้องเข้าไปเพื่อให้เห็นภาพได้ชัดเจนทุกมิติ ก่อนจะตัดขั้วและเลาะถุงน้ำดีให้หลุดออก วิธีนี้นอกจากช่วยให้แพทย์สามารถมองเห็นอวัยวะภายในได้ชัดเจน แผลยังมีขนาดเล็ก เจ็บน้อย ลดโอกาสการติดเชื้อ ผู้ป่วยฟื้นตัวไว ไม่ต้องพักฟื้นนาน ซึ่งควรผ่าตัดรักษาภายใน 72 ชั่วโมง และหลังจากผ่าตัดถุงน้ำดีออกไปแล้ว ผู้ป่วยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับการย่อยอาหาร เพราะถุงน้ำดีเป็นเพียงที่เก็บพักน้ำดี แต่ควรลดของมัน เน้นทานผักและปลามากขึ้น เพื่อให้ห่างไกลจากอาการท้องอืดและมีสุขภาพดีในระยะยาว

นิ่วนั้นมักเริ่มต้นเกิดในไต และต่อมาเลื่อนตำแหน่งไปยังกรวยไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ หากนิ่วมีขนาดเล็กก็จะสามารถหลุดออกเองได้ ในช่วงเวลาที่ผู้ป่วยปัสสาวะ แต่ถ้านิ่วมีขนาดใหญ่ก็จะไปอุดตันตามตำแหน่งต่างๆ

ตัวการร้ายก่อเกิดโรคนิ่ว

  • กรรมพันธุ์ โรคหลายชนิดที่มีการถ่ายทอดทางพันธุกรรม และมีผลต่อการเกิดนิ่งทางเดินปัสสาวะ
  • อายุ พบมากในกลุ่มวัยทำงาน อายุ 40 – 60 ปี
  • เพศ พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง 2 – 3 เท่า
  • อาหาร ชนิด และ ปริมาณอาหารมีผลต่อการขับสารบางชนิดออกมาในปัสสาวะ ได้แก่ แคลเซียม ฟอสเฟต ยูเรต ออกซาเลต ในภาวะที่มีปริมาณผิดปกติและสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย สารเหล่านี้จะรวมตัวกัน กระทั่งกลายเป็นก้อนผลึกแข็ง เมื่อสะสมนานวันเข้าก็มีขนาดใหญ่ขึ้น และกลายเป็นก้อนนิ่ว ที่เข้าไปอุดตันที่บริเวณต่างๆ ของระบบทางเดินปัสสาวะ
  • ยาที่รับประทานบางชนิด
  • ภาวะติดเชื่อในระบบทางเดินปัสสาวะ
  • ความผิดปกติทางกายวิภาคของระบบทางเดินปัสสาวะ

อาการของโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ

ลักษณะอาการของนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะนั้น จะขึ้นอยู่กับขนาดของนิ่ว และตำแหน่งที่นิ่วนั้นอุดอยู่ รวมถึง นิ่วนั้นอุดทางเดินปัสสาวะมากน้อยเพียงใด หากอาการอยู่ในช่วงระยะแรก ร่างกายของเราอาจขับก้อนนิ่วออกมา ได้เองทางปัสสาวะ ซึ่งจะพบตะกอนเหมือนก้อนกรวดเล็กๆ ปนออกมาพร้อมกับปัสสาวะ แต่เมื่อใดก็ตามที่ก้อนนิ่ว มีขนาดใหญ่ขึ้นจะมีการอุดตันที่มากขึ้น ก่อให้เกิดการเสียดสี ส่งผลสู่การบาดเจ็บ มีเลือดออก ทำให้ปัสสาวะมีสีแดงขึ้น จากเลือดหรือบางกรณีมีสีเหมือนน้ำล้างเนื้อ
  • อาการปวด จากนิ่วอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ โดยอาจมีอาการปวดบริเวณบั้นเอว หรือ บริเวณท้องขึ้นอยู่กับตำแหน่งนิ่ว
  • มีปัสสาวะแสบ ขัด และปัสสาวะลำบาก
  • มีปัสสาวะเป็นเลือด พบได้ถึงร้อน 80 – 90 ของผู้ป่วย
  • ปัสสาวะขุ่นเป็นผลคล้ายชอล์ก เนื่องจาก การตกตะกอนของสารที่เป็นส่วนประกอบของนิ่ว
  • การติดเชื้อ การอุดกั้น ของนิ่วทำให้ปัสสาวะคั่งค้าง ในระบบทางเดินปัสสาวะ ทำให้เกิดการติดเชื้อ มีไข้ หากมีอาการมาก อาจพบปัสสาวะขุ่นมีหนองปน และกลิ่นเหม็น
  • ปัสสาวะไม่ออก กรณีที่เป็นนิ่วบริเวณท่อปัสสาวะ
  • ไม่มีน้ำปัสสาวะ กรณีที่มีภาวะอุดตันของไต อย่างรุนแรงทั้งสองข้าง
  • อาการแทรกซ้อน เช่น อาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร และท้องอืด 

ส่วนอาการของนิ่วในไต หรือท่อไต จะลักษณะอาการปวดตรงบริเวณเอวด้านหลังที่เป็นตำแหน่งของไต เวลาที่ก้อนนิ่ว หลุดมาอยู่ในท่อไต ผู้ป่วยจะมีอาการปวดชนิดที่รุนแรงมาก เหงื่อตก และเกิดเป็นพักๆ บางรายปัสสาวะอาจมีเลือดหรือเป็นสีน้ำล้างเนื้อร่วมด้วย แต่ถ้านิ่วลงมาอุดบริเวณที่ท่อไตต่อกับกระเพาะปัสสาวะ ผู้ป่วยจะมีอาการระคายเคืองเวลาปัสสาวะ อยากปัสสาวะ แต่ปัสสาวะขัด หากปล่อยให้เป็นนิ่วไปนานๆ โดยมิได้รับการรักษา จะทำให้ไตเกิดการบาดเจ็บเรื้อรัง ส่งผลให้ไตมีรูปร่าง และการทำงานผิดปกติมากยิ่งขึ้น ซึ่งนำไปสู่ภาวะไตวายในที่สุดการรักษา โรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ

ปัจจุบันมีการรักษาหลายวิธี  โดยแพทย์จะพิจารณาโดยอาศัยข้อมูลเรื่องชนิดและขนาดของนิ่ว ตำแหน่งของนิ่ว ความแข็งของนิ่ว ไตบวมมากหรือน้อย การอักเสบของไต พิจารณาแล้ววิเคราะห์เลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสม ในแต่ละราย บางท่านอาจจะเหมาะสมที่จะรักษาด้วยการสลายนิ่ว แต่บางท่านไม่เหมาะสมที่จะสลายนิ่ว อาจรักษาได้ด้วยวิธีอื่นๆ เริ่มจาก

  1. การรักษาตามอาการ  กรณีนิ่วมีขนาดเล็ก กว่า 4 มม. โดยจะแนะนำให้คนไข้ดื่มน้ำมากๆ  เพื่อให้นิ่วหลุดออกเองและตามผลอย่างสม่ำเสมอ
  2. การรักษาทางยา เหมาะในรายที่เป็นนิ่วขนาดเล็กในไตหรือท่อไต ลักษณะกลม เรียบ มีอาการปวดไตน้อย ไม่อักเสบรุนแรง
  3. การเจาะเพื่อดูดเอานิ่วอออกหรือการสลายนิ่ว ด้วยเครื่อง Shockwave ซึ่งเป็นวิธีรักษาที่ไม่ต้องผ่าตัดสำหรับผู้ป่วยที่มีนิ่วขนาดไม่เกิด 2 ซม.เหมาะสำหรับนิ่วในไต หรือ ท่อไตขนาดปานกลาง

แนวทางการป้องกันการเกิดโรคนิ่ว

1. ดื่มน้ำมากกว่าวันละ 8 แก้ว หรือให้ได้ปริมาตรของปัสสาวะมากกว่า 2 ลิตรต่อวัน เพื่อลดความอิ่มตัวของสารก่อนิ่วในปัสสาวะ และลดการก่อผลึกนิ่วที่อาจเกิดขึ้นได้ในระบบทางเดินปัสสาวะ
2. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มีสารอาหารครบถ้วนและสัดส่วนเหมาะสม โดยเฉพาะอาหารจำพวกผักและผลไม้
3. ลดอาหารที่มีเนื้อสัตว์ ไขมันสัตว์ อาหารหวาน เค็มมาก และอาหารที่มีกรดยูริกสูง
4. เลี่ยงหนังสัตว์ปีก ตับ ไต ปลาซาร์ดีน
5. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีออกซาเลตสูง ได้แก่ ผักโขม ช็อกโกแลต ชา ถั่ว แอปเปิ้ล หน่อไม้ฝรั่ง บล็อคโคลี่ เบียร์ น้ำอัดลม กาแฟ โกโก้ ไอศครีม สับปะรด วิตามินซี โยเกิร์ต
6. ผู้ป่วยที่มีนิ่วควรรับประทานอาหารที่มีใยมาก และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
7. ตรวจสุขภาพประจำปีอย่างน้อย 1 ปีครั้ง อย่างสม่ำเสมอ สำหรับผู้ที่มีอาการผิดปกติ และสงสัยว่ามีนิ่วไต ควรปรึกษาแพทย์ อย่างไรก็ตามผู้ที่เคยเป็นนิ่วแล้วมีโอกาสที่จะกลับมาเป็นโรคนิ่วอีกครั้งก็มีได้มาก ดังนั้น การเรียนรู้วิธีป้องกัน และดูแลรักษาสุขภาพตัวเอง เพื่อไม่ให้เกิดโรคนิ่วจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด

 

เรื่องเกี่ยวกับสุขภาพอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ที่มาของบทความ

 

ติดตามเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพได้ที่  gladrags.net

สนับสนุนโดย  ufabet369